top of page
  • Black Facebook Icon
  • Instagram

Welcome to the world where truth doesn't hurt

ศิลปินภาพประกอบสาวไทย ที่ไปขายแรงงานอยู่โตเกียว


ยูน-พยูณ วรชนะนันท์ เป็นศิลปินภาพประกอบที่ทำภาพประกอบ และออกแบบพ็อคเก็ตบุ๊คของไทยหลายเล่มและหลายปีแล้ว ประวัติคร่าวๆ คือ พอเรียนจบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี 2001 พยูณก็เป็นนักเขียนและคอลัมนิสต์ที่นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์อยู่ปีกว่า ก่อนไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น แล้วก็อยู่ยาวจนจบด็อกเตอร์ ถึงบัดนี้ก็ปีที่ 12 แล้ว และช่วงนี้เธอเริ่มเป็นศิลปินฮ็อตอยู่ที่ญี่ปุ่น

ทำไมถึงเลือกเรียนต่อญี่ปุ่น ทั้งที่ช่วงปีที่ยูนจบเทร็นด์เรียนต่ออังกฤษมาแรงมาก ตอนก่อนมา อินเตอร์เน็ตมันยังไม่แพร่ขนาดนี้ พึ่งพ้นยุคแพ็คลิงค์ [ตอนนั้น] ถ้าอยากจะดูงานเมืองนอกเปิดหูเปิดตา ก็ต้องไปร้านหนังสือ ห้องสมุด ไม่ก็ห้องวารสารของมหาวิทยาลัย แล้วช่วงนั้นชอบความเหนือความคาดหมายของงานญี่ปุ่น ชอบความที่เทคโนโลยีมันพัฒนาไปพร้อมๆ กับงานดีไซน์ ชอบ pop culture คิดว่าถ้ามาที่นี่ เดินไปไหนก็คงได้เห็นของดีทั่วโลก งานศิลปะท้่วโลกก็วนมาแสดงบ่อยๆ แล้วเป็นเมืองที่มีคนหลากหลาย มีวัฒนธรรมหลากหลาย เก่าผสมใหม่ สนุกดี คือไม่ใช่ว่าต้องเป็นญี่ปุ่นนะ แต่ต้องเป็นโตเกียวเลย เพราะมีทุกอย่างที่ว่ามาข้างต้น แต่ตอนนั้นก็ลืมคิดว่าภาษาญี่ปุ่นมันยาก คิดย้อนไปแล้วซูฮกความไม่กลัวอะไรเลยของตัวเองตอนนั้นจริงๆ 


12 ปีที่ผ่านมา ปีไหนที่เริ่มมีคนญี่ปุ่นมาจ้างบ่อยๆ เพิ่งจะ 5-6 ปีมานี้เอง ช่วงแรกๆ มา พูดญี่ปุ่นก็ไม่ได้ เอาแต่เรียนกับวิจัย อ่านหนังสือจนสายตาสั้น หมกตัวในห้องสมุด จนเรียนจบ เริ่มพูดญี่ปุ่นได้บ้าง เริ่มมีแกลลอรี่มาชวนไปจัด exhibition ก็เลยเริ่มมีคนรู้จัก หลังจากนั้นก็มีงานมาเรื่อยๆ เห็นการพัฒนาการของงานตัวเองอย่างไรบ้าง จริงๆ ก็คงจะเหมือนกับกับคนทำงานศิลปะและออกแบบคนอื่นๆ คือสภาพแวดล้อมและสิ่งที่ผ่านมาในชีวิตจะค่อยๆ ทับถมแล้วก็ค่อยๆ เปลี่ยนมุมมองของเรา มองย้อนกลับไป จากงานเวคเตอร์แบนๆ ก็เริ่มสนใจเรื่องแสง เรื่องบรรยากาศ เวลา เริ่มมีการพยายามหัดสร้างมิติให้ภาพทั้งด้านการมองเห็นและความคิด มันค่อยๆ เพิ่มบ้างลดบ้าง ไม่ค่อยสนใจเรื่องการสร้างสไตล์ของตัวเองอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยมีข้อจำกัด ได้ลองใส่หมด แล้วเหลือเฉพาะที่ชอบเอาไว้ เป็นข้อดีการเอาตัวเองเข้ามาอยู่ในประเทศที่มีแต่คนเก่งๆ แบบใครๆ ก็วาดรูปได้ ขนาดแม่บ้านญี่ปุ่นเขายังเลี้ยงลูกไปด้วย แล้ววาดภาพประกอบเป็นรายได้เสริมก็มี เลยเหมือนต้องบีบตัวเองให้ทดลองอะไรใหม่ๆ และหาทางพัฒนาตลอดเวลาด้วย งานที่ทำเป็นการใช้โปรแกรม AI เสียทั้งหมด คิดถึงงานวาดมือหรือสีน้ำบ้างไหม ไม่ค่อยเก่งแนววาดมืออยู่ตั้งแต่แรกแล้ว เลยไม่ค่อยคิดถึงเท่าไหร่ รู้สึกว่าการวาดมือหรือวาดสีน้ำมันมีความ random และมีปัญหาที่ต้องจัดการตรงหน้าระหว่างวาดไปด้วย นี่คือมองในสายตาคนไม่เก่งสีน้ำนะ ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ เป็นยังไง แต่ปกติงานยูนมันจะถูกคิดจนจบทั้งภาพในหัวก่อนแล้วค่อยลงมือทำ เลยมีความกลัวไม่ได้ดั่งใจอยู่ในหัว แต่มีบ้างที่คอมไม่ได้ดั่งใจเหมือนกัน แล้วก็ไปอิจฉาคนที่สามารถสร้างเส้นจากปลายพู่กันหรือปากกาให้ไหลจากสมองลงกระดาษได้อิสระแบบนั้น แต่ไอ้เราก็ใช้ทรงเรขาคณิตในงานเยอะเป็นทุนเดิม สุดท้ายก็เลยกลับมาที่คอม จนหลังๆ มานี่ได้ลองวาดภาพในพวก smartphone/tablet รู้สึกว่า ได้อิสระในการวาดมือกลับมา ผสมกับการใช้เรขาคณิตได้ด้วย เลยรู้สึกว่ายังพัฒนาต่อไปทำอะไรได้อีกเยอะ รู้งี้ซื้อตั้งนานแล้ว

Ketsumeishi เป็นงานวาด CD-DVD jacket ให้วงฮิปฮอป Ketsumeishi เป็นวงที่ค่อนข้างเมเจอร์ของที่นี่ เลยอวดมาสามสี่ปีแล้วไม่เลิก ตอนรับบรีฟงานมีแค่เดโมเพลงส่งมาให้เพลงเดียว บอกให้เอาไปฟังแล้วทำปกมานะ จบ มางี้ใช่ไหม ได้! ก็ส่งอันนี้ไป ไม่มีชื่อวงบนปกด้วย ปรากฏว่า สมาชิกวงเห็นแล้วบอก ชอบ เอาเลย! แล้วอีก 2 อาทิตย์ให้หลังมันก็ไปประดับอยู่ใน Tsutaya กลางสี่แยกชิบุย่า คือวินาทีนี้ไม่รู้แล้วว่าระหว่างลูกค้ากับดีไซเนอร์ ใครระห่ำกว่ากัน

(บน) New Museum, New York (ล่าง) Frank llyod Wright เป็นหนึ่งในโปรเจคท์วาดงานสถาปัตยกรรมที่ไปเจอมา ความชอบส่วนตัวเช่นกัน

(บน) experiment mirror กับ (ล่าง) experiment light เป็นงานล่าสุด วาดตอนหัดใช้โปรแกรมใหม่ใน ipad ทดลองเรื่องแสงและการสะท้อนเงากระจก

สดๆ ร้อนๆ วาดหน้าเปิดให้ Forbes Japan เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และวาดปกให้ WWD Beauty เป็นงานแรกๆ ที่ทดลองวาดแสงแบบเย็นๆ ค่ำๆ

อันนี้เป็นหน้าเปิดทำให้นิตยสาร Aera Style เป็นนิตยสารสูทหล่อๆ ของญี่ปุ่น

 

Comments


bottom of page