ไม่ต้องใส่เสื้อขาด กลัดเข็มกลัด ทำผมประหลาดก็เป็นพังก์ได้ การเคลื่อนไหวทางทัศนคติในยุค 70s ที่ลุกลามจนเปลี่ยนโลกในทุกด้านจนทุกวันนี้ เกิดจากคนหนุ่มสาว
Bee Futon ผู้ก่อตั้งวง Futon และดีเจเพลงร็อคชื่อดังจากยุค 90s ที่ทำงานคู่กับ "ป้าวาส" ดีเจ วาสนา วีระชาติพลี ดีเจคนสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ชาวร็อคที่ดีต้องรู้จัก เขาเติบโตในตอนเหนือของอังกฤษ ในช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพังก์เบ่งบาน และเราชวนเขามาเล่าให้ฟัง ว่าบรรยากาศต้องพังก์เพิ่งเริ่มมันเป็นอย่างไร
โดย Paul Bee Hampshire
ชีวิตต่างจังหวัดทางตอนเหนือของอังกฤษในช่วงยุค 1970 ไม่ใช่แค่รันทด แต่แม่งรันทดเหี้ยๆ ไม่มีการขออภัยใดๆ ทั้งสิ้นสำหรับคำหยาบในประโยคที่แล้ว บทความนี้ว่าด้วยประสบการณ์ชีวิตพังก์ของฉัน ฉะนั้น มาเริ่มกันแบบไม่ให้สปิริตวัยรุ่นของวัฒนธรรมหน่วยย่อยต้องตกหล่นกันเลยดีกว่า
มันเป็นทศวรรษที่ถูกกัดกินด้วยความขัดแย้งที่มาจากภาวะตกงานขนาดหนัก เศรษฐกิจวอดวาย การหยุดงานประท้วง จราจล การขาดแคลนพลังงาน และการทำงานเพียงสามวันต่อสัปดาห์เพื่อประหยัดไฟฟ้า แน่นอนว่าวัยรุ่นยุค 70s อย่างเรามีเกมส์คอมพิวเตอร์เล่นเป็นยุคแรก มี Space Hopper (บอลลมยางกลมๆ ที่นั่งแล้วเด้งได้) มีโทรทัศน์สีรุ่นแรกสุด และมีโทรศัพท์บ้านใช้ แต่ของพวกนั้นมันก็แค่ยาแก้อักเสบอ่อนๆ สำหรับชีวิตเน่าๆ ที่พวกเราถูกจองจำให้หายใจ
ที่ๆ ฉันโตขึ้นมานี่ก็แย่ใช้ได้ มันเป็นเหมืองถ่านหินสิ้นหวังที่เต็มไปด้วยชนชั้นแรงงานชาวเหนือผู้ทรหด ที่ไม่ไว้ใจอะไรสักอย่างที่ผิดแผกไปจากวิถีสามัญ วิธีที่จะอยู่รอดในสังคมได้คือไม่แตกแถว เนียนไปกับผู้คนส่วนใหญ่ และคอยภาวนาขออย่าให้ใครได้รู้ว่าคุณแอบคิดเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากสุราและนารี คนรุ่นเดียวกับฉันส่วนใหญ่ และคำว่า “ส่วนใหญ่” ในที่นี้หมายถึง 99% ของทั้งหมด ถ้าไม่ฟังเพลงป๊อบเลี่ยนๆ อย่าง Boney M ก็เต้นแร้งเต้นกากับเพลงแนว Northern Soul หรือดิสโก้ ส่วนเรื่องแฟชั่นก็พรึ่บพร่ำไปด้วยเสื้อผ้ากระดุมพร่ำเพรื่อและกางเกงเอวสูง หรือไม่ก็เสื้อ Fred Perry กับเสื้อกล้ามเรียบๆ ส่วนคนประเภทฉัน ที่ไม่ขอเดินบนถนนเน่าหนอนนั้น ก็จะไปลองผิดลองถูกกับสุนทรียศาสตร์แบบใหม่ที่มีนายพลอวกาศผู้เลอเลิศอย่างเดวิด โบวี่ หรือ Roxy Music เป็นผู้ริเริ่ม และที่คนส่วนใหญ่ปล่อยให้เราทำได้ เพราะตอนนั้นเขาเห็นว่าเราไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร และเขาจะได้มีอะไรให้เอาไว้หัวเราะใส่ แต่หัวเราะไปเถอะ เพราะทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป...ว่าแล้วก็ตัดภาพซูมมาที่หน้าของ Johny Rotten (วง Sex Pistols) แยกเขี้ยว ถลึงตา
ช่วงปลายยุค 70s คลื่นลูกแรกของพังก์ซัดกระหน่ำไปทั่วอังกฤษ พวกหนังสือแทบลอยด์กัดไม่ปล่อย และเขียนถึงราวกับว่ามันเป็นสินามิอ้วก วิทยุคลื่นหลักไม่ยอมเล่นเพลงพังก์ ฉันเลยต้องหมุนหาคลื่นเถื่อนอย่าง Radio Luxembourge เพื่อฟังวงโปรดอย่าง The Damned, Eater, X-Ray Spex และ The Sex Pistols มีรายการทีวีแค่รายการเดียวในช่วงซัมเมอร์ปี 1977 ที่จะมีวงพังก์มาให้ดูบ่อยๆ ฉันจำได้ว่าทุกวันพุธต้องรีบวิ่งสี่คูณร้อยจากโรงเรียนกลับบ้านเพื่อมานั่งดู The Marc Bolan Show ที่จะมีวงใหม่ๆ อย่าง The Jam และ Generation X ดื่มด่ำกับทุกวินาทีบนจอ จดจำทุกอย่างฝังไว้ในใจ ไม่ใช่แค่ดนตรีหรือเสื้อผ้า แต่ยังรวมถึงลีลาท่าทาง คนอย่าง Billy Idol ตอนหนุ่มคือต้นแบบของความไร้ที่ติ ในขณะที่คนอื่นๆ อย่าง Bob Geldolf ก็เป็นตัวแทนของความคลุ้มคลั่งแห่งร็อคแอนด์โรล
การถือกำเนิดของพังก์ผลักดันให้คนหนุ่มสาวได้แสดงตัวตนที่แท้จริง คนหมู่มากพากันเหยียดปากแล้วถอยห่างอย่างขยะแขยง และเหมาเอาว่าพวกนี้มันก็แค่วัยรุ่นไม่มีอะไรทำ ในขณะที่อีกพวกเป็นเดือดเป็นร้อนว่าหยามกัน และไล่ล่าทำลายล้างพังก์ทุกตัวที่บังอาจรุกล้ำอาณาเขตของพวกเขา ในกรณีของฉันนี่ซวยหน่อย เพราะอยู่ในเมืองเล็กที่เต็มไปด้วยพวกหลัง แต่พอมองย้อนไปมันก็ถือเป็นด่านชีวิตที่ประเสิรฐอยู่ เป็นยาดีที่ช่วยแยกฉันออกจากชีวิตแบบคนพวกนั้นมายืนด้วยตัวเองแล้วพูดว่า “ไอ้เย็ดเหี้ย กูจะใส่อะไรก็ได้ที่กูอยากใส่ กูจะพูดอะไรก็ได้ที่กูอยากพูด กูจะฟังอะไรที่กูอยากฟัง และที่สำคัญที่สุด กูจะคิดอะไรก็ได้ที่กูอยากคิด”
สองนาทีในตำนาน: เมื่อชาวงพังก์นำด้วย The Sex Pistols ไปออกทีวีตอน prime time ของค่ำวันที่ 1 ธ.ค. 76 แล้วพ่นคำหยาบแบบไม่เกรงใจเยาวชนทางบ้านจนคนทั้งประเทศอังกฤษโมโหแทบจะเผาแผ่นดินทิ้
ก็เหมือนด่านชีวิตทุกด่าน ที่ถ้าอยากจะผ่านไปให้ได้ก็ต้องเจอความเจ็บปวดทางกายและจิตใจกันหนักหน่อย เช่นการโดนพวกแก๊งเด็ก soul boys รุมกระทืบ ด้วยข้อหาใส่ยีนส์ขาดรุ่งริ่งกับเสื้อยืดขัดลูกกะตาและแต่งหน้า พอมองกลับไป ไอ้ที่โดนตอนนั้นมันก็ไม่เท่าไหร่หรอก เมื่อแลกกับการได้มีวิธีคิดแบบพังก์ที่แทรกซึมอยู่ในแทบทุกอย่างที่ฉันทำในชีวิต ฉันจำได้ว่ามีอยู่วันหนึ่งตอนช่วงกลางยุค 90s ที่ตอนนั้นฉันเป็นดีเจรายการวิทยุอยู่กรุงเทพฯ แล้วเล่นเพลง Apex Twin ออกอากาศ แล้วผู้คุมสถานีโทรสายด่วนมาตะโกนด่ากรอกหูโทรศัพท์ “นี่ยูเล่นบ้าไรเนี่ย? แบบนี้เรียกว่าเพลงเหรอ?!” อารมณ์นั้นเหมือนได้ยินแม่ตะโกนด่าอยู่ที่ตีนบันไดบ้านตอนฉันเล่นแผ่นเพลงพังก์ลั่นห้องนอนเลย ฉันเคยเดินออกจากงานเฉยๆ เพราะเขาบังคับว่าต้องผูกเนคไทใส่เครื่องแบบมาทำงาน และตอนที่เดวิด คอคเกอร์ (วง Futon) และฉันเริ่มตั้ง Futon ด้วยกันตอนปี 2003 เป้าหมายหลักของเราคือ เราจะฉีกทุกกฏที่อยู่ในคู่มือการทำเพลงแล้วขยี้มันเป็นชิ้นๆ ซึ่งฉันอยากจะคิดว่า ตอนนั้นเราก็ได้ทำแบบนั้นกันจริงๆ นะ
ส่งท้ายด้วยถ้อยคำของ Poly Styrene นักร้องนำจากวง X-Ray Spek ตัวแม่แห่งอาณาจักรพังก์ ที่ว่า “ก็ฉันมันซ้ำซากไง แล้วก็ไม่แคร์ด้วย” ฉันก็จะปิดท้ายด้วยประโยคซ้ำซากที่ยังคงเที่ยงแท้ว่า “พังก์ไม่ใช่แค่ดนตรีหรือแฟชั่น แต่มันคือวิถีทางความคิดและจิตวิญญาณ”
บีเคยเป็นดีเจรายการวิทยุชื่อดังในไทยช่วงยุค 90s และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งวง Futon
Original English Version by By Paul Bee Hampshire
Life in an English northern town in the 1970s wasn’t just grim, it was fucking very grim. No apologies for the foul language in that first sentence, this article is about my punk experience so let’s start out and stick to the true teen spirit of the subculture.
The decade had been dogged with dissent due to mass unemployment, rampant recession, strikes, riots, power cuts and three-day working weeks to conserve electricity. Sure we 70’s teens had the first computer games, space-hoppers, brand new colour televisions and home telephones but they were a weak antidote to the daily drab existence we were forced to endure. The place I grew up in was particularly bad, a bleak coal mining town populated by tough working class northerners that were very suspicious of anything that deviated from the ‘norm’. The best way to survive was to stand in line, blend in with the crowd and hope to god that no one noticed you were thinking about anything but beer and birds (women).
Most, and by most I mean 99%, of people my age were either listening to cheesy pop music like Boney M or were still spinning around to Northern Soul and disco tracks. Fashion-wise it was all about flares with tons of buttons and high waistbands, Fred Perry shirts and plain tank tops. People like me, that refused to go down that drab path, were still experimenting with the aesthetic that was launched by glam space-cadets like Bowie and Roxy Music. We were tolerated by the masses simply because we weren’t a threat and they loved to laugh at us. All that was about to change… Camera cuts to a close up of Johnny Rotten, wide-eyed and sneering.
In the late 70’s, the first wave of punk swept through the UK. The tabloid press rode it and wrote about it as if it were a tsunami of puke. The major radio stations still refused to play punk music, so I’d tune into pirate radio stations like Radio Luxembourg to hear my favourite bands, like The Dammed, Eater, X-Ray Spex and the Sex Pistols. There was only one TV show in the summer of 1977 that would regularly feature punk groups. I remember racing home from school every Wednesday to watch The Marc Bolan show, which featured new bands like The Jam and Generation X. Savouring every second, I’d take mental notes on not just the music and the clothes but also their postures and poses. Some, like the young Billy Idol, were flawless role models while others, like Bob Geldof, were a taste of the great rock 'n' roll swindle that would soon prevail.
The emergence of Punk forced young people to show their true colours. The mass majority merely smirked as they scornfully distanced themselves from it and got on with being bored teenagers. Then there were those that took it as a personal insult and set out on a mission to search and destroy any punks that dared to enter their domain. Unfortunately for me, the small town I lived in was largely made up of the latter. In hindsight this was the perfect rite of passage, it was the catalyst that forced me to step away from the pack and then stand up and say ‘fuck you, I’m going to wear what I want, say what I want, listen to what I want and most importantly think what I want’.
Like any rite of passage there was a significant amount of trauma and pain involved, whether it was getting a beating from the local soul boys for wearing ripped jeans, obscene t-shirts and make-up or endless rows with my parents and older brother for wearing ripped jeans, obscene t-shirts and make-up. That now seems like a small price to pay for the positive effects that also came from adopting that punk attitude which has permeated just about everything that I’ve done in my life.
I remember one time in Bangkok in the mid-nineties playing Aphex Twin on my radio show when the station director called me on the hotline phone furiously screaming ‘What are you playing? This is not music!’ It was like hearing my parents again yelling from the bottom of the stairs as I blasted out punk records from my bedroom. I’ve actually walked out of jobs because they demanded I wore a tie or a uniform. When David Coker and I formed Futon in 2003 our agenda was to break every rule in the book then tear it up, which I’d like to think we did.
So in the words of punk priestess Poly Styrene from X-Ray Spex … ‘I’m a cliché and I don’t care’, I’m going to finish by quoting the old cliché that still rings true: ‘Punk is not just music or fashion…it’s an attitude and a spirit.’
Comments